Post Views: 0
“ค้นหาจินตนาการใหม่การกระจายอำนาจ” โดยสถาบันพระปกเกล้า เป็นเจ้าภาพประชุมออนไลน์
โดยมีหน่วยงาน พป. สช. มสช. สศช. มพท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการพัฒนาชุมชน หน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สนง.กองทุน ส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมัชชา สุขภาพเขตและจังหวัด โดย ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบัน พระปกเกล้า ได้เชิญหน่วยงานในพื้นที่มาเล่าประสบการณ์การทำงานในประเด็น การผลักตันแผนปฏิบัติการ และโครงสร้างในเชิงกฎหมาย ของจังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเชิงพื้นที่และการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ และจังหวัดพันธุ์ใหม่ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) รวมทั้งตัวอย่างการทำงานนอกกรอบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เลขาธิการ พป. นำเสนอทิศทางการกระจายอำนาจ ใน 6 ประเด็นคือ หนึ่ง การกระจายอำนาจให้ อปท. ที่ดูแลปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยประซาชนร่วมคิดร่วมสร้าง และร่วมดำเนินการ และสอง การกระจายอำนาจเชิงพื้นที่ ใน ๒ แนวทาง คือใช้จังหวัดเป็นศูนย์กลางและมีระบบเข้ามารองรับ และใช้ Agenda เป็นประเด็นหลักในการบริหารและพัฒนา โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้พื้นที่สามารถกำหนดนโยบายในการบริหารและพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง มุ่งเน้นการสร้างกลไกให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการเชื่อมโยงงบประมาณและแผนพัฒนาจังหวัดที่มีการบูรณาการ ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ในการบริหารจัดการ/แก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับความต้องการและเร่งด่วนของประชาชนในท้องถิ่น โดยส่วนกลางทำหน้าที่สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะ และกำกับดูแลรวมทั้งมีฐานข้อมูลที่ดีที่สามารถใช้ร่วมกันได้ภายในจังหวัด นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัด ขอนแก่น ได้กล่าวถึงการพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งความสำเร็จของการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาการอย่างเหนียวแน่น และมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ อปท. สม่ำเสมอ ประชากร เป็น Smart people ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง และ อปท. มีความยืดหยุ่นที่ประชาชนจับต้องได้ และพร้อมรับฟังความเห็น จากประชาชนในพื้นที่ และนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เล่าถึงการบริหารจัดการในพื้นที่ที่มีบริบท แตกต่างจากพื้นที่อื่น มีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ โดยเทศบาล เป็นองค์กรนำในการดูแลท้องถิ่นของตนเอง และบริหารจัดการ เพื่อชดเชยในส่วนที่ขาดไป รวมทั้ง อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้เล่าถึงการทำงานและผลักดันโครงการรถรางเบาขอนแก่น โดยเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการกระจายอำนาจเชิงพื้นที่ของขอนแก่น คือ กระบวนการสานเสวนาของภาคประชาสังคมกับเทศบาล